การเเต่งกายของชาวเผาม้ง

การแต่งกายชองเผาม้ง





ผู้หญิง ใส่กระโปรง ทอด้วยป่านใยกัญชง (ต้นคล้ายกัญชา แต่ดอกและใบใช้สูบไม่ได้) การทำกระโปรงของหญิงม้ง โดยการใช้เล็บสะกิดใยกัญชงออกเป็นเส้น แล้วฝั่นต่อกันเป็นม้วนใหญ่ นำไปฟอกด้วยน้ำด่างขี้เถ้า จะได้ด้ายสีขาวอมเหลือง นำไปทอเป็นผ้ามีผิวสัมผัสหยาบหนา แต่นุ่มเป็นมัน มีความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร นำไปเขียนด้วยขี้ผึ้ง เป็นลวดลายเรขาคณิต นำไปย้อมสีน้ำเงินอมดำ แล้วนำไปต้มให้ขี้ผึ้งละลาย เป็นการทำบาติกแบบโบราณนำผ้าที่ย้อม แล้วมาพับเป็นพลีทเล็ก ๆ แล้วใช้ไม้กดทับไว้ให้จีบอยู่ตัว แล้วใช้ด้ายร้อยระหว่างจีบจากด้านหนึ่ง ไปยังด้านหนึ่งเป็นเอวของกระโปรง ใช้ผ้าขาวต่อเป็นเอว ใช้ผ้าสีต่าง ๆ กุ๊นตกแต่งกระโปรง และ ปักด้วยด้ายสีต่าง ๆ 

เสื้อเอวเกือบจะลอย แขนยาว มีปกเสื้อด้านหลัง ผ่าหน้า หรือทับไปทางซ้ายทำด้วยผ้าสี ดำ มีตกแต่งลวดลาย ผ้าคาดเอวสีดำมีพู่แดงเป็นชายครุย มีสนับแข็งสีดำ ผมขมวดเป็นมวย ใส่ หมวดผ้าหรือโพกผ้าสีดำ ใส่ต่างหูเงิน ห่วงคอทำด้วยเงิน 3-4 วงซ้อนกัน ด้านหลังเสื้อตกแต่ง ด้วยเหรียญเงินเก่า 

ผู้ชาย นุ่งกางเกงดำเป้าต่ำ เสื้อดำแขนยาว เอวลอย (มีเสื้อข้างในสีขาว) ผ้าคาดเอวสี แดง คาดทับด้วยเข็มขัดเงิน ห่วงเงินคล้องคอ 1 ห่วง หมวกผ้าดำมีจุกแดงตรงกลาง 

แม้ว เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนซึ่งชอบอพยพโยกย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ แม้ว เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป ซึ่งเพียนมาจากคำว่า “เมี้ยว” ชาวเขาเผ่าแม้วจะเรียกตัวเองในหมู่พวก เดียวกันว่า “ม้ง” ม้งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 

1. ม้งขาว 
2. ม้งเขียว 
3. ม้งดำ 

ม้งขาว 
หญิง
 สวมกระโปรงผ้าป่านดิบยาวลงมาถึงหัวเข่า มีผ้าพันหน้าแข้งตั้งแต่ข้อเท้ถึงหัวเข่า แต่ปัจจุบันนีหันมาใส่กางเกงสีดำกว้าง ๆ แบบจีน คาดเอวด้วยผ้าสีแดง ปล่อยชายผ้าสี่เหลี่ยมทิ้ง ยาวลงมาด้านหน้าและด้านหลัง คอปกเสื้อกว้างแบบทหารเรือ โพกหัวด้วยผ้าสีคราม หรือสีดำ 

ชาย นุ่งกางเกงดำกว้าง ๆ เป้าหย่อนลงมาไม่มากนัก สวมเสื้อป้ายอกมีผ้าคาดเอว
ม้งเขียว 
หญิง
 ยังสวมกระโปรงสีฟ้าแก่ ประดับลายภาพวาดด้วยขี้ผึ้งและมีปักลวดลายใน ส่วนล่างของกระโปรง มีผ้าคาดเอวสีแดง ผ้าห้อยลงมาสีดำ เสื้อเป็นสีต่าง ๆ คอปกเสื้อเล็ก กว่าม้งขาว 4 นิ้ว ขอบปกเป็นรูปโค้ง ไม่มีผ้าโพกหัว แต่มีผ้าถักบาง ๆ แถบเป็นลายดอกไม้สีแดง พันรอบมวยผม

ชาย ใส่กางเกงดำเหมือนม้งขาว แต่เป้ากางเกงหย่อนลงมาจนเกือบถึงพื้น ดินแบบ อาหรับ ปลายขารัดที่ข้อเท้า สวมหมวกทำด้วยผ้าแพรต่วน ไม่มีขอบ 



ส่วนม้งดำนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีในประเทศไทย ในลาวจะมีน้อยมาก เพราะเป็นการยากที่ จะแยกว่าเป็นม้งดำ เพราะจะรับทั้งแบบการแต่งกายและภาษาจากม้งขาวและเขียวไว้ ส่วนมาก จะเรียกตามสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่
อ้างอิง : http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/06_1.html

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม