ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานของชนเผาม้ง
ประเพณีฉลองปีใหม่ม้ง
ในวาระขึ้นปีใหม่ม้งจะมีการละเล่นเพื่อฉลองวันปีใหม่โดยเฉพาะ คือ การเล่นลูกช่วง (ntsum pob) หรือที่เรียกกันว่า “จุเป๊าะ”ลูกช่วง (pob) มีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยผ้ามีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยผ้ามีขนาดเล็กพอที่จะกำถือด้วยมือข้างเดียวได้
ประเพณีฉลองปีใหม่ม้ง
ประเพณีฉลองปีใหม่ เป็นงานรื่นเริงเดียวของชาวม้งของทุกๆปี ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ประเพณีฉลองปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจัทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น ๅ ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย ( 30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย ( เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ3 ค่ำของเดือนหนึ่งจัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงาน ทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้
ในวาระขึ้นปีใหม่ม้งจะมีการละเล่นเพื่อฉลองวันปีใหม่โดยเฉพาะ คือ การเล่นลูกช่วง (ntsum pob) หรือที่เรียกกันว่า “จุเป๊าะ”ลูกช่วง (pob) มีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยผ้ามีลักษณะกลมเหมือนลูกบอลทำด้วยผ้ามีขนาดเล็กพอที่จะกำถือด้วยมือข้างเดียวได้
เมื่อวันขึ้นปีใหม่ซึ่งตรงอยู่ในช่วงธันวาคม หรือมกราคม หลังจากการเก็บเกี่ยวไร่นาสวนสิ้นผ่านไปจะเกิดเทศกาลปีใหม่ม้งเกิดขึ้นโดยบรรดาหนุ่มสาวต่างแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสวยงามและมักจะเป็นชุดที่เพิ่มตัดเย็บขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในหมู่หนุ่มสาวจะตกแต่งในลักษณะประดังประดาไปด้วยเครื่องประดับและผ้าปักที่มีลวดลายสวยงามรวมไปถึงผู้หญิงชาวม้งจะเป็นผู้ประดิษฐ์ลูกช่วง
กระเล่นลูกช่วง จะแบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย โดยที่ก่อนจะมีการละเล่นเกิดขึ้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ที่เอาลูกช่วงไปให้ฝ่ายชาย หรือญาติ ๆ ของฝ่ายหญิงเป็นผู้ที่นำลูกช่วงไปให้ฝ่ายชาย เมื่อตกลงกันได้ก็จะทำการโยนลูกช่วงโดยฝ่ายหญิงและฝ่ายชายแต่ละฝ่ายจะยืนเป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หันหน้าเข้าหากัน มียะยะห่างกันพอสมควร แล้วโดยลูกช่วงให้กันไปมาและสามารถทำการสนทนากับคู่ที่โยนได้ โดยมีจุดประสงค์ของการเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นการฉลองปีใหม่และถือเป็นการรู้จักกับเพศตรงข้ามเพื่อมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน ตามหลักหญิงที่ทำการแต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ในการเล่นอีกเพราะถือว่าผิดตามธรรมเนียมของม้ง ส่วนผ่ายชายสามารถเล่นได้แต่อยู่ที่ว่าฝ่ายหญิงจะทำการยินยอมเล่นกับตนหรือไม่ แล้วแต่ฝ่ายหญิงสาวคนนั้น การเล่นลูกช่วงยังเป็นการช่วยฝึกทักษะความชำนาญในการคว้าจับสิ่งของที่พุ่งเข้ามาปะทะใบหน้า อันเป็นการฝึกป้องกันตัวจากสิ่งของที่ลอยมาหาใบหน้าอย่างกระทันหันได้ด้วย ในช่วงระหว่างการเล่นลูกช่วง หนุ่มสาวที่ทำการเล่นลูกช่วงจะทำการร้องเพลงโต้ตอบกัน เพิ่มความสนุกสนานในการเล่นมายิ่งขึ้น กติกาการเล่นและการปรับผู้แพ้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่นเอง ไม่มีกติกากำหนดตายตัวแต่ประการใด
ชาวม้งมีการเล่นลูกช่วงเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่ามาช้านานแล้ว ชนเผ่าอื่นในไทยไม่มีการละเล่นในทำนองนี้ ม้งได้สืบทอดวัฒนธรรมการเล่นลูกช่วงมาตั้งแต่สมัยที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศจีน ซึ่งในสมัยที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศจีนนั้น ในทุกๆปีของช่วงเดือนแรกในฤดูใบไม้ผลิ จะมีการเล่น ระบำดวงจันทร์ (Moon dance) โดยจะประดิษฐ์ลูกบอลเล็กๆที่ทำจากเศษผ้าสีต่างๆ เรียกว่า ลูกบอลลี เป้าหมายอยู่ที่คนรักของแต่ละคน
ม้งในประเทศจีนมีงานฉลองเล่นลูกช่วงในช่วงเดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิซึ่งประมาณได้ว่าตรงกับชวงเดือนมีนาคม - เมษายน ส่วนม้งในประเทศไทยจะเล่นลูกช่วงในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะอยู่ราวเดือนธันวาคม - มกราคม ของทุกๆปี ลูกช่วงหรือลูกบอลที่ใช้เล่นกันใหมู่บ้านม้งในประเทศไทยนั้น บางหมู่บ้านทำด้วยผ้าสีดำ ซึ่งตรงกันข้ามกับม้งในประเทศจีนที่นิยมเล่นลูกบอลที่มีสีสันสดใส
อ้างอิง :http://www.oocities.org/hmoobthaib/culture.htm
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น